การเติมแร่ธาตุในน้ำสำหรับทำเบียร์ มีหลักการอย่างไร

Brewing-water-calculator

การเติมแร่ธาตุในน้ำสำหรับทำเบียร์ มีหลักการอย่างไร

การเติมแร่ธาตุในน้ำสำหรับการทำเบียร์ (water treatment) หรือที่ Brewer ใช้คำว่าการปรุงน้ำ คือกระบวนการที่ช่วยปรับสมดุลของน้ำเพื่อให้เหมาะสมกับสไตล์ของเบียร์ที่เราต้องการทำ เพราะแร่ธาตุในน้ำมีผลต่อรสชาติ, สี, ความขม, และกระบวนการหมัก

โดยหลักการเติมแร่ธาตุในน้ำสำหรับทำเบียร์มีขั้นตอนดังนี้

1. ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้

  • เริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณภาพน้ำที่คุณมีอยู่ เช่น การวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH), ปริมาณแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม, แมกนีเซียม, โซเดียม, ซัลเฟต, คลอไรด์, และไบคาร์บอเนต ค่านี้จะช่วยให้ทราบว่าแร่ธาตุในน้ำที่มีอยู่แล้วมีอะไรบ้าง

2. กำหนดแร่ธาตุที่ต้องการเพิ่มหรือลดในคราฟเบียร์แต่ละชนิด

  • เลือกสไตล์เบียร์ที่ต้องการทำและศึกษาข้อมูลว่าแร่ธาตุใดที่มีความสำคัญสำหรับสไตล์นั้นๆ ตัวอย่างเช่น:
    เบียร์ Pale Ale อาจต้องการเพิ่มซัลเฟตเพื่อชูความขมและรสชาติของมอลต์เด่นขึ้น

3. การคำนวณปริมาณแร่ธาตุที่ต้องการเพิ่มในเบียร์

  • Brewing water calculator เพื่อคำนวณปริมาณแร่ธาตุที่ต้องการเพิ่ม เช่น Gypsum (CaSO4) เพื่อเพิ่มแคลเซียมและซัลเฟต, Epsom salt (MgSO4) เพื่อเพิ่มแมกนีเซียมและซัลเฟต, หรือ Calcium chloride (CaCl2) เพื่อเพิ่มแคลเซียมและคลอไรด์
  • เราสามารถทดลองปรับแต่งปริมาณสารเคมีสำหรับปรุงน้ำในเบียร์ได้จาก Brewersfriend ตาม URL ด้านล่าง

https://www.brewersfriend.com/water-chemistry/

4. การปรับค่า pH ช่วงของการ Mashing

  • การปรับค่า pH ของน้ำและ mash ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปรับแต่งแร่ธาตุ การปรับค่า pH ให้เหมาะสมจะช่วยในกระบวนการสกัดน้ำตาล การหมักและผลลัพธ์ของเบียร์ ปกติค่า pH ที่เหมาะสมจะอยู่ระหว่าง 5.2 – 5.6

5. การทดลองและปรับแต่ง

  • การทดลองทำเบียร์และชิมผลลัพธ์จะช่วยให้คุณเรียนรู้ว่าแร่ธาตุที่เพิ่มเข้าไปมีผลอย่างไรและควรปรับเปลี่ยนอะไรในการทำครั้งต่อไป

 

ปล. การเติมแร่ธาตุในน้ำสำหรับการทำเบียร์เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการเรียนรู้และทดลอง คุยกันได้อีกเป็นวันๆ เมื่อทำบ่อยๆ จะสามารถปรับแต่งน้ำให้เหมาะสมกับเบียร์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

 

Brewing-water-calculator